วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน


ภาวะโลกร้อนส่งผลให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น  โดยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา พ.ศ. 2538 2549 เป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยบันทึกได้ตั้งแต่พ.ศ.2539และเกิดเหตุการณ์น้ำแข็งขั้วโลกละลายระดับน้ำทะเลสูงขึ้นรวมทั้งเกิดภัยธรรมชาติรุนแรงจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปทั่วโลก เช่น  เฮอริเคน  ไต้ฝุ่น  โคลนถล่ม  ภัยแล้ง  และน้ำท่วม  ในทั่วภูมิภาคเอเชียและอเมริกากลางในขณะที่ทวีปยุโรปต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรงขึ้นซึ่งแสดงให้เห็นถึงความอ่อนไหวของกลไกธรรมชาติของโลกที่นับวันจะมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
          "ปัจจุบัน ความเข้าใจข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ของภาวะโลกร้อนนั้นแจ่มชัดเพียงพอแล้วที่จะเป็นเหตุผลสำหรับประเทศต่างๆ ให้ลงมือปฏิบัติทันที"
ความจริงที่เรารู้ ถึงแม้จะไม่แน่ชัดเรื่องเวลา ขอบเขตและภูมิภาคแต่ก็มีการยอมรับกันในวงการวิทยาศาสตร์แล้วว่า
-          รายงานของ IPCC ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาระบุว่า ในอนาคต อาจเกิดภาวะขาดแคลนอาหารและน้ำ และภัยพิบัติต่อสัตว์ป่า
-          ระดับน้ำทะเลอาจสูงขึ้นระหว่าง 7-23 นิ้ว ซึ่งระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเพียง 4 นิ้วก็จะเข้าท่วมเกาะ และพื้นที่จำนวนมากในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
-          ผู้คนนับร้อยล้านที่อยู่ในระดับความสูงไม่เกิน 1 ฟุต เหนือระดับน้ำทะเล อาจะต้องย้ายถิ่น โดยเฉพาะในสหรัฐ รัฐฟลอริดา และหลุยส์เซียนาก็เสี่ยงเช่นกัน 
-          ธารน้ำแข็งละลายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น อาจส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำจืดได้
-          พายุที่รุนแรง ภาวะแห้งแล้ง คลื่นความร้อน ไฟป่า และภัยธรรมชาติต่างๆ จะเกิดขึ้นบ่อยขึ้น จนกลายเป็นเรื่องปกติ ทะเลทรายจะขยายตัวทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารในบางพื้นที่
-          สัตว์นับล้านสปีชี่ส์ จะสูญพันธุ์ จากการไม่มีที่อยู่ ระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลง และน้ำทะเลเป็นกรด การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทรอาจเปลี่ยนทิศทาง ส่งผลให้เกิดยุคน้ำแข็งย่อยๆ ในยุโรป และภาวะอากาศแปรปรวนในหลายพื้นที่
-          ในอนาคต เมื่อภาวะโลกร้อนอยู่ในขั้นที่ควบคุมไม่ได้ จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Positive Feedback Effect ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้นจะปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่ถูกเก็บ อยู่ในส่วนชั้นน้ำแข็งที่ไม่เคยละลาย (Permafrost) และ ใต้ทะเลออกมา หรือคาร์บอนที่ถูกน้ำแข็งกับเก็บไว้ ส่งผลให้ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
-          การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล (ถ่านหิน น้ำมัน ฯลฯ) ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศเพิ่มขึ้นอีก แม้ว่าคาร์บอนออกไซด์จะไม่ใช่ตัวการสร้างผลกระทบมากที่สุด แต่ก็เป็นก๊าซมนุษย์เป็นผู้ก่อให้เกิดมากที่สุด เนื่องถูกปล่อยออกมาปริมาณมาก
-          ปัจจุบันความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศอยู่ในระดับสูงที่สุดใน 150,000 ปี
-          คาดว่าทศวรรษ 1990 เป็นทศวรรษที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ และ ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) เป็นปีที่ร้อนที่สุด
-          นอกจากนี้ยังได้ยอมรับร่วมกันอย่างกว้างขวางในสิ่งต่อไปนี้
-          ความร้อนที่เพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง นั่นคือ ราว 1.3 องศาเซลเซียส (2.3 องศาฟาเรนไฮท์) เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อพิจารณาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนถึงปัจจุบัน การจำกัดความร้อนให้อยู่ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส (3.6 ฟาเรนไฮท์) นั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
-          ถ้าไม่สามารถควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ ภาวะโลกร้อนใน 100 ปี ข้างหน้าจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าที่เคยเป็นมาตั้งแต่กำเนิดอารยธรรมมนุษย์
-          เป็นไปได้สูงมากที่กลไกการตอบโต้ของสภาพภูมิอากาศจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศแบบทันทีและไม่สามารถกลับคืนเหมือนเดิม ไม่มีใครรู้ว่าภาวะโลกร้อนจะต้องรุนแรงมากขึ้นเพียงใดจึงจะจุดชนวนให้เกิด "สถานการณ์วันสิ้นโลก"






ที่มา; http://www.greenpeace.org/seasia/th/campaigns/climate-and-energy/climate-change-science/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น